ทำความรู้จัก HMO (Human Milk Oligosaccharides) โอลิโกแซกคาไรด์ในนมแม่


HMO สารอาหารมหัศจรรย์ที่มีในน้ำนมแม่ อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ และสารอาหารมากมาย ทั้งทางด้าน โภชนาการและการเสริมสร้างภูมิต้านทาน หนึ่งในสารอาหารเพื่อ ภูมิต้านทานนั้น คือ ซินไบโอติก ซึ่งประกอบด้วย พรีไบโอติก หรือ Human milk Oligosaccharide (HMO) และ โพรไบโอติก หรือ จุลินทรีย์สุขภาพ

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเด็กที่กินนมแม่ ถึงแข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมผง ก็ต้องบอกแบบนี้นะว่า ในน้ำนมแม่นอกจากจะมีสารอาหารดี ๆ แล้วยังมี HMO (Human Milk Oligosaccharides) ที่เป็นเหมือน “บอดี้การ์ด” ช่วยปกป้องลูกน้อย HMO จะทำหน้าที่เสริมภูมิคุ้มกันของทารก โดยไปช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีในลำไส้ แถมยังป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาทำร้ายได้ง่าย ๆ นอกจากนี้ การเสริมโพรไบโอติกส์ เข้าไปก็เหมือนเพิ่มกองทัพจุลินทรีย์ดี ๆ ให้ลำไส้ทำงานได้เต็มที่ ช่วยให้ลูกน้อยของเราแข็งแรง ป่วยยากขึ้น

HMO สำคัญกับลำไส้กว่าที่คิด ในลำไส้ของเรามีแบคทีเรียดี ๆ อยู่เต็มไปหมดน โดยเฉพาะ Bifidobacteria และ Lactobacillus ที่เป็นตัวช่วยสำคัญในการรักษาสมดุลของระบบย่อยอาหาร และ HMO ทำหน้าที่เป็น “อาหาร” หรือเราเรียกอีกอย่างพรีไบโอติกส์ ( Pre-Biotic ) ก็คืออาหาร สำหรับโพรไบโอติกส์นั่นเอง  HMO จะช่วยให้แบคทีเรียดีเจริญเติบโตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลำไส้แข็งแรง ลดโอกาสเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

HMO ทำหน้าที่เหมือน “โล่ป้องกัน”  ไม่ให้เชื้อโรคเกาะติดกับผนังลำไส้ลูกน้อย ขณะที่โปรไบโอติกส์ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ดี ๆ ให้ทำงานต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพนะ

หลายคนอาจคิดว่า HMO เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์เฉพาะในเด็กทารก แต่ความจริงแล้ว HMO ยังมีประโยชน์กับผู้ใหญ่ ถ้ามีปัญหาท้องผูก ท้องเสีย หรือรู้สึกว่าระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดี ซึ่ง HMO ในลำไส้ของผู้ใหญ่ทำงานคล้ายกับในเด็กโดยทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับแบคทีเรียดีในลำไส้ เมื่อแบคทีเรียดีอย่าง Bifidobacteria และ Lactobacillus เจริญเติบโตเต็มที่ จะช่วยย่อยสลายอาหาร ผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโต

นอกจากนี้ HMO ยังมีความสามารถในการรักษาสุขภาพเยื่อบุลำไส้ ลดการอักเสบ และช่วยให้ลำไส้ทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาลำไส้อักเสบเรื้อรัง เช่น IBS (Irritable Bowel Syndrome) หรือ IBD (Inflammatory Bowel Disease) สาเหตุของมะเร็งลำไส้ การเสริม HMO อาจช่วยบรรเทาอาการและทำให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้นก็ถือว่าลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ด้วยนะ

HMO กับโปรไบโอติกส์สำคัญทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต หลายคนอาจจะยังไม่รู้ ว่าลำไส้กับสมองของเรามีการสื่อสารกัน เพราะลำไส้มี แกนลำไส้-สมอง หรือ Gut-Brain Axis แต่รู้ไหมว่า HMO และโพรไบโอติกส์มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก ลำไส้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่สำหรับย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนศูนย์ควบคุมหลายระบบในร่างกายอีกด้วย

HMO และโพรไบโอติกส์ ยังส่งผลดีต่อการทำงานของสมองด้วย เป็นเพราะแบคทีเรียดีในลำไส้สามารถผลิตสารเคมีบางอย่าง เช่น เซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก หากลำไส้ของเราสุขภาพดี จุลินทรีย์ในลำไส้ก็จะผลิตสารพวกนี้ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เรามีอารมณ์ดีและลดความเครียดได้

สำหรับเด็ก ทารกที่ได้รับ HMO และโปรไบโอติกส์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะมีแนวโน้มที่จะพัฒนาระบบประสาทและการเรียนรู้ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาบางชิ้นที่ชี้ว่าโปรไบโอติกส์สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่ได้

สุขภาพลำไส้ของเราไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เป็นหัวใจสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทุกระบบในร่างกาย ตั้งแต่ระบบย่อยอาหาร ภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงอารมณ์และจิตใจ HMO และโปรไพโอติกส์ คือ คู่หูที่ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ลำไส้ของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การรับประทานอาหารที่มีทั้งสองตัวช่วยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพในระยะยาว เพราะฉะนั้น อย่าลืมดูแลลำไส้ของตัวเองนะ เพราะลำไส้ที่แข็งแรง สุขภาพก็จะแข็งแรงไปด้วย

โพรไบโอติกคืออะไร?

โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์มีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเกี่ยวกับภาวะในลำไส้ได้ มักพบมากในบริเวณระบบทางเดินอาหาร รวมถึงในระบบอื่นๆของร่างกาย โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การดูซึมอาหาร และช่วยปรับภูมิคุ้มกันร่างกายให้สมดุล ป้องกันโรค ป้องกันจุลินทรีย์ไม่ดีในร่างกาย

ประโยชน์ของโพรไบโอติก โพรไบโอติกช่วยอะไร?

  1. สร้างความสมดุลให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย
  2. กระตุ้นภุมิคุ้มกันต่างๆ ในร่างกาย
  3. ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลไส้ใหญ่
  4. ลดการอักเสบและภูมิแพ้ 
  5. ช่วยเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ
  6. ยับยั้งจุลินทรีย์และเชื้อบางชนิด
  7. ช่วยเสริมสร้างเอนไซม์ที่กระตุ้นการย่อยอาหาร

โพรไบโอติกมีแบบไหนบ้าง?

โพรไบโอติก จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โพรไบโอติกธรรมชาติ และโพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริม

โพรไบโอติกจากธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรียว กิมจิ ชาหมัก แอปเปิ้ลไชเดอร์ ชุปมิโชะ เป็นต้น

โพรไบโอติกแบบอาหารเสริม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก และยังเลือกสรรได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผง แบบเม็ด หรือแบบเยลลี่

โพรไบโอติกแต่ละสายพันธุ์ ก็ให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป

  1. Lactobacillus paracasei  เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยลดการอักเสบ และช่วยการบีบตัวของลำไส้ในระบบทางเดินอาหาร จึงช่วยบรรเทาโรคลำไส้แปรปรวนได้ดี บรรเทาอาการท้องอืด อาการปวดท้อง ช่วยเพิ่มสุขภาพช่องปากให้ดีขึ้น ลดอาการฟันผุ และช่วยป้องกันการติดเชื้อ
  2. Lactobacillus plantarum LPL28 เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เป็นประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อ โรคลำไส้แปรปรวน ช่วยลดอาการอืดแน่นไม่สบายท้องในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนได้ และช่วยยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ตัวร้าย ช่วยดูดซึมสารอาหารในลำไส้ ลดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส และช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในภาวะปกติ
  3. Lactobacillus acidophilus LA107 เป็นจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic acids) จึงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่ทำให้เกิดโรค ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเชื้อโรค ลดระดับคอลเลสเตอรอลในเลือด และมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ บรรเทาโรคภูมิแพ้รวมถึงโรคผิวหนังอักเสบ ช่วยชะลอวัย เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการรุกรานจากเชื้อก่อโรค ช่วยส่งเสริมการดูดซึมสารอาหารในลำไส้
  4. Lactobacillus rhamnosus RH เป็นจุลินทรีย์ที่มีความทนทานต่อกรดในกระเพาะอาหาร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะ รักษาโรคอุจจาระร่วง ช่วยลดภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ โรคภูมิแพ้ ภูมิแพ้อาหาร ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงฟันผุ เสริมความแข็งแรงของผนังลำไส้ ลดความเสี่ยงของอาการท้องเสีย บรรเทาอาการแพ้ และส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง ช่วยให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น
  5. Lactobacillus reuteri LR-08 เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถหลั่งสารเทอริน (Reutrerin) ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหาร จึงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ รวมถึงลดอาหารภูมิแพ้ และ โรคทางเดินหายใจ ลดอาการผื่นแพ้ในเด็กเล็ก ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ
  6. Bifidobacterium longum BL986 เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถหลั่งกรดแลคติก และกรดอะซิติก (Acetic acid) จึงช่วยยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค และมีความต้านทานต่อกรดในกะเพาะอาหาร ช่วยซ่อมแซมเยื่อบุผนังทางเดินอาหาร ควบคุมลำไส้มีความสมดุล ลดระยะเวลาของอาการท้องเสีย ช่วยในการรักษาเด็กอ่อนที่มีอาการแพ้แลคโตส ลดโอกาสท้องผูกจากการอั้นอุจจาระ ลดความเสี่ยงการเกิดอาการแพ้
  7. Bifidobacterium breve BR18 เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยปกป้องลำไส้ และเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร ลดการอักเสบ ปกป้องระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ส่งเสริมการผลิตสารสื่อประสาทส่งกลับไปยังระบบประสาทและสมอง และยังสามารถช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้บริเวณผิวหนัง
  8. Bifidobacterium infantis เป็นจุลินทรีย์ที่พบได้ทั่วไปในทารกที่ดื่มน้ำนมจากแม่ เนื่องจากในน้ำนมแม่มี HMO เป็นแหล่งอาหารชั้นดีให้กับจุลินทรีย์เติบโตได้ดี การทาน B. infantis จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ลดก๊าซ และท้องอืด ที่เกิดจากลำไส้แปรปรวนได้ดี ช่วยลดโอกาสเกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น สามารถทำงานร่วมกับแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ในลำไส้ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เกิดการเก็บพลังงานที่เกิดจากการสร้างสารอาหารที่ย่อยไม่ได้ เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การสร้าง บิวทิเรต (Butyrate) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ช่วยรักษาเยื่อบุลำไส้ให้มีสุขภาพดี
  9. Bacillus coagulan BCP92 เป็นจุลินทรีย์ที่ทนต่อความร้อน และทนต่อสภาพกรดในทางเดินอาหารได้ดีเยี่ยม เนื่องจากมีโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า สปอร์ (Spore) จึงสามารถอยู่รอด เจริญเติบโตอยู่ในลำไส้ และมีอายุยืนยาวกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ สามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษกับร่างกายช่วยป้องกันอาการท้องผูก ท้องเสีย โรคลำไส้แปรปรวน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในทางเดินอาหารเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับไวรัส และแบคทีเรียแปลกปลอมที่หลุดเข้ามาในร่างกาย

ควรกินโพรไบโอติกเยอะแค่ไหนต่อวัน?

ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการกินอาหารเสริมโพรไบโอติกจะอยู่ที่ 100-1,000 ล้านตัวต่อวัน หรือ 5,000 ล้าน CFU ต่อ 1.5 กรัม (หน่วยปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์บริโภค) เป็นอย่างน้อย ในกรณีที่ได้รับโพรไบโอติกเกินจำนวนหรือมากจนเกินความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวันก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น เวียนหัว ผื่นคัน แก๊สในกระเพาะอาหาร ดื้อยา เป็นต้น